หน้าร้อนใครๆก็ต้องนึกถึง ทะเล น้ำตก กันทั้งนั้น ทุกคนก็อยากจะหาสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคลายร้อน อยากจะพาครอบครัวไปสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันน อะๆเรามีที่แนะนำสำหรับคนที่รักธรรมชาติ วันนี้เราไปที่น้ำตกละกันเนอะ
น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 7 ชั้นเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เดิม มีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกที่เกิดจากยอดเขา ตาม่องล่ายใน เทือกเขาสลอบ สายน้ำจะไหลมาตามชั้นหินเป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่า หลายชนิดบนคาคาคบไม้ สายธารน้ำที่ไหลตกลดหลั่นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสียงสาดซ่า คลอเคล้า ด้วยเสียงเพรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมี คุณค่าของป่าเขาลำเนา ไพรซึมซับเข้าสู่อารมณ์ของผู้ใฝ่ความสันโดษ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชั้นบนสุดของน้ำตกลักษณะของน้ำตกชั้นที่ 7 ลักษณะสายน้ำไหลบ่า มองดูคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อน้ำตก จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “น้ำตกเอราวัณ”
สิ่งที่รู้สึกได้เมื่อมาถึงยังบริเวณน้ำตก คือความเย็นสบายแต่เมื่อได้เห็นตัวน้ำตกก็ต้องตะลึงในความงามของตัว น้ำตกที่น้ำใสแจ๋ว มองเห็นตัวปลาแหวกว่ายไปมาใต้ผืนน้ำที่สะท้อนแสงเป็นสีฟ้าอมเขียวมรกตคล้ายน้ำใน สระว่ายน้ำ ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากลักษณะของภูเขาใน อุทยานฯเอราวัณ เป็นเป็นเทือกเขาหินปูนที่เกิดจาก การทับถมของ เปลือกหอย ปู หรือปะการังดังนั้นน้ำตกเอราวัณที่ไหลมาจากเทือกเขาหินปูนจึงมีสารละลายของ แคลเซียมคาร์บอเนต เจือปนอยู่ ซึ่งแคลเซียมคาร์บอเนตนี้จะตกตะกอนในบริเวณที่มีน้ำไหลช้าหรือเป็นแอ่งน้ำ ทำให้ชั้นน้ำตกมีคราบหินปูนก่อตัว และหินปูนนี้สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่ออยู่ในรูปของสารละลายก็สามารถ ตก ตะกอนได้ น้ำตกหินปูนจึงมีน้ำใสในตอนบน และมีการตกตะกอนขุ่นในช่วงล่างของธารน้ำ เมื่อแสงส่องลงมาจะ ทำให้สะท้อนเป็นสีฟ้าหรือสีเขียวมรกตสวยงามมาก
น้ำตกชั้นแรกมีชื่อว่าไหลคืนรัง" ชั้นที่ 2 ชื่อ "วังมัจฉา" ชั้นที่ 3 "ผาน้ำตก" ชั้นที่ 4"อกผีเสื้อ" ชั้นที่ 5 "เบื่อไม่ลง" ชั้นที่ 6 " ดงพฤกษา" และชั้นสุดท้ายชื่อว่า "ภูผาเอราวัณ"โดยน้ำตกแต่ละชั้นไม่ใช่มีแค่ชื่อที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น แต่น้ำตกแต่ละชั้นก็มีความ สวยงามที่แตกต่างกันออกไป สำหรับท่านที่ต้องการเยี่ยมชมน้ำตกทั้ง 7 ชั้นจาก ต้องใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการขึ้น - ลง
ทางอุทยานฯตั้งชื่อเช่นนี้ คิดว่าอาจจะเป็นเพราะน้ำตกชั้นนี้มีปลาอาศัยอยู่เยอะก็เป็นได้ ซึ่งปลาเหล่านี้คือ "ปลาพลวง" เป็นปลาน้ำจืดในตระกูลปลาตะเพียน ลำตัวสีน้ำตาลเขียว เกล็ดโต มีหนวดยาว 2 คู่ ตรงจงอยปาก และ มุมปาก ชอบอาศัยบริเวณธารน้ำตก ลำห้วย หรือธารน้ำที่ใสสะอาดมีพื้นเป็นกรวดหรือทราย ชั้นนี้มีสีของน้ำมี 2 สีอย่างเห็นได้ชัด คือน้ำสีฟ้าเขียวและน้ำใสๆตามปกติ ซึ่งปลาพลวงชอบจะอาศัยอยู่ในน้ำใสมากกว่า นอกจากนี้ที่น้ำตกชั้น 2 ยังมีความสวยงามของม่านน้ำตกที่เบื้องหลังสายน้ำตกที่ตกลงมากระเซ็นเป็นฝอยนั้นมี ผาลึกเข้าไปเล็กน้อย โดยนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปหลังม่านน้ำตกนี้ได้
น้ำตกชั้นที่ 3 มีน้ำตกตกลงมาจากผาชันดังชื่อของน้ำตกชั้นนี้ว่า"ผาน้ำตก" จากนั้นก็เดินข้ามสะพานไม้ถัดขึ้น ไปเป็นน้ำตกชั้นที่ 4 "อกผีเสื้อ" ที่มีชื่อเช่นนี้ก็คงเพราะรูปร่างของหินที่อยู่ในน้ำตกชั้นนี้ มองดูคล้ายอกของผู้หญิง หรือถ้าเป็นอกผีเสื้อก็คงเป็น อกผีเสื้อสมุทร ที่มีน้ำตกไหลครอบคลุมหินกลมมน ก้อนใหญ่ 2 ก้อนดูแล้วนิ่มนวลสวยงามมาก
ถัดมาเป็นน้ำตกชั้นที่ 5 ชื่อว่า"เบื่อไม่ลง" ด้วยลักษณะของน้ำที่ไหลตกลงมาตามชั้นหินเตี้ยๆหลายๆชั้นบวกกับน้ำ ที่มีสีฟ้าเขียวทำให้เกิดความสวยงามน่าหลงใหลเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปเป็นชั้น "ดงพฤกษา" ซึ่งอุดมไปด้วยแมกไม้ นานา พันธุ์แต่ดูไม่รกทึบส่วนชั้นสุดท้าย "ภูผาเอราวัณ" ที่ได้ชื่อเช่นนี้คงเนื่องมาจากว่าเมื่อน้ำตกไหล บ่าผ่านผา และชั้นหินบน ภูเขามองดูจากระยะไกลคล้ายกับ หัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตกชั้นที่ 7 และเป็นชื่อของอุทยาน แห่งชาตินี้ด้วย
นอกจากนี้ทางอุทยานฯได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ทางอุทยานฯ ได้จัดเส้นทางไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ที่ต้องการ ศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที คือ เส้นทางสายป่าดิบแล้งม่องไล่ - ระยะทาง 1,010 เมตร ลักษณะเป็นทางเดินเลียบลำห้วยม่องไล่ เริ่มจากสะพานค่ายพักไปบรรจบกับเส้นทาง ใน น้ำตกเอราวัณชั้นที่ 3 เส้นทางเขาหินล้านปี - ระยะทาง 1,940 เมตร เริ่มจากลานจอดรถไปบรรจบกับเส้นทาง สู่น้ำตกบริเวณสะพานของ น้ำตกเอราวัณชั้นที่ 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น